คำศัพท์การซื้อขาย Forex พื้นฐาน ที่นักลงทุนควรรู้

ตลาด Forex มาพร้อมกับเงื่อนไข และคำศัพท์เฉพาะของตัวเอง ดังนั้นก่อนที่คุณจะเรียนรู้วิธีการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ คุณจำเป็นต้องเข้าใจ คำศัพท์การซื้้อขาย Forex พื้นฐาน ที่คุณจะต้องพบเสมอ ในชีวิตการลงทุนในตลาดนี้

คำศัพท์การซื้อขาย Forex พื้นฐาน

Cross rate

อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินระหว่างสองสกุล ซึ่งทั้งคู่ไม่ใช่สกุลเงินอย่างเป็นทางการของประเทศที่มีการเสนอราคาอัตราแลกเปลี่ยน เช่น อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินปอนด์อังกฤษ และเยนญี่ปุ่น เมื่ออ้างอิงอยู่ในหนังสือพิมพ์ในสหรัฐ ในบริบทนี้ถือว่าเป็น cross rate และในหนังสือพิมพ์ฉบับเดียวกัน มีการยกอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินปอนด์ กับดอลลาร์สหรัฐ คู่นี้จะไม่ถือว่าเป็น cross rate  เพราะการอ้างอิงนั้นเกี่ยวข้องกับเงินดอลลาร์สหรัฐ

Exchange Rate

อัตราแลกเปลี่ยนในที่นี้หมายถึง มูลค่าของเงินสกุลหนึ่งที่แสดงอยู่ในรูปของเงินอีกสกุลหนึ่ง การบอกอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดฟอเร็กซ์ จึงแสดงอยู่ในรูปของ คู่เงินสองสกุล เช่น

EUR/USD = 1.45 หมายถึง 1 Euro มีค่าเท่ากับ 1.45 US$

Pip

Pip หมายถึง การเคลื่อนไหวของราคาที่เพิ่มขึ้นน้อยที่สุด ที่คู่สกุลเงินนั้น สามารถทำได้ เราเรียกเป็นจุด เช่น

1 pip ของคู่เงิน EUR/USD จะมีค่าเท่ากับ 0.0001 นั่นคือการขยับขึ้น/ลงของราคาของคู่สกุลเงิน EUR/USD อย่างน้อยที่สุดคือ 0.0001

1 pip ของคู่เงิน USD/JPY จะมีค่าเท่ากับ 0.01

คำที่คล้ายกันกับ pip คือคำว่า point ซึ่งหน่วย point จะเป็นหน่วยที่แสดงในโปรแกรม MT 4 ที่เป็นโปรแกรมที่นักลงทุนนิยมใช้อย่างมาก ในกรณีที่โบรกเกอร์ กำหนดให้มีการซื้อ/ขายคู่สกุลเงินต่าง ๆ ได้ถึงทศนิยมตำแหน่งที่ห้า การแสดงค่า pip และ point จะเป็นไปตามตารางข้างล่าง

ราคาก่อน ราคาที่เปลี่ยนไป pips points
1.35000 1.35010 1 10
1.35000 1.35015 1.5 15
1.35002 1.35025 2.3 23
1.35002 1 35102 10 100
1.35002 1.36115 111.3 1113

Leverage

เลเวอเรจ คือความสามารถในการเพิ่มมูลค่าบัญชีให้มากกว่ามูลค่าเดิมที่มีอยู่ ซึ่งค่าเลเวอเรจนี้จะถูกเสนอให้กับคุณโดยโบรกเกอร์ เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการเทรด ที่เมื่อเปิดบัญชีในทุก ๆโบรกเกอร์ จะมีรายละเอียดของบัญชี ที่กำหนดค่า เลเวอเรจ ให้นักลงทุนเลือกได้เช่น 100:1, 200:1 ซึ่งเลเวอเรจนี้เองจะช่วยให้นักลงทุน ที่มีเงินเริ่มตันในบัญชีน้อย ให้มีกำลังทางการตลาด (market power) มากพอที่จะเข้าทำการเทรดได้ในบัญชีต่าง ๆได้

Lot  Contract size  กับบัญชีประเภทต่าง ๆ

โดยทั่วไป โบรกเกอร์จะกำหนดบัญชีประเภทต่าง ๆไว้เป็น 3 แบบคือ micro mini และ standard ซึ่งแต่ละบัญชีจะแตกต่างกันในเรื่อง จำนวนหน่วยสัญญาต่อ 1 lot ดังตาราง

ประเภทบัญชี จำนวนหน่วยสัญญาต่อ 1 lot ของเงินสกุลหลัก
micro 1000
mini 10000
standard 100000

นั่นหมายถึง หากคุณต้องการเทรดคู่เงิน EUR/USD ในบัญชีแบบไมโคร คุณต้องมีเงิน 1000 ยูโร (สกุลเงินที่อยู่ข้างหน้าเป็นเงินสกุลหลัก) เป็นอย่างน้อย เพื่อจะทำการเทรด 1 lot และต้องมีเงินอย่างน้อย 10000 ยูโรในบัญชีแบบมินิ และบัญชีแบบสแตนดาร์ด คุณต้องมีถึง 100000 ยูโร แน่นอนว่าถ้าคุณมีเงินเริ่มต้นไม่มากพอ คุณจะไม่สามารถเข้าเทรดในตลาดฟอเร็กซ์ได้เลย ไม่ว่าจะในบัญชีใด ๆก็ตาม

ดังนั้นการใช้ เลเวอเรจ จะเป็นการเปิดโอกาสให้นักลงทุนที่มีเงินน้อย ได้สามารถเข้าเทรดในตลาด forex ได้ ตารางข้างล่าง แสดงศักยภาพของบัญชีแบบต่าง เมื่อใช้เลเวอเรจที่แตกต่างกัน สำหรับเงินทุน 100 ดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อ/ขาย คู่ USD/JPY

leverage เงินทุน us$ ศักยภาพ Standard lot Mini

lot

Micro lot
100:1 100 10000 X 1 10
200:1 100 20000 X 2 20
1000:1 100 100000 1 10 100

จะเห็นว่าเมื่อคุณมีเงินในบัญชี 100 ดอลลาร์สหรัฐ คุณจะไม่สามารถเทรดคู่เงิน USD/JPY นี้ ในบัญชีแบบไหนก็ตามได้เลย หากว่า คุณไม่ใช้ เลเวอเรจ ( ในที่นี้ USD เป็นเงินสกุลหลัก ) และหากคุณเปิดบัญชีสแตนดาร์ด คุณต้องใช้ เลเวอเรจ สูงถึง 1000:1 จึงจะสามารถซี้อ/ขาย เงินคู่นี้ได้ 1 standard lot

Tip

# บัญชีประเภทต่าง ๆคือ standard, mini, และ micro เป็นการแสดงมูลค่าทางบัญชี ผู้ลงทุนจำเป็นต้องรู้ว่าบัญชีประเภทต่าง ๆ มีมูลค่า และเงื่อนไขเป็นอย่างไรบ้าง ก่อนการตัดสินใจเปิดบัญชี

# ควรระมัดระวัง ในการใช้ เลเวอเรจ  การใช้ เลเวอเรจ สูง ๆจะเป็นอันตราย และอาจสูญเสียเงินลงทุนทั้งหมดได้ง่าย หากไม่มีการวางแผน การบริหารความเสี่ยงที่ดีพอ เลเวอเรจ จะช่วยให้คุณมีศักยภาพในการทำกำไรได้ดี แต่ขณะเดียวกัน มันก็มีกำลังมากพอที่จะทำให้คุณล้างพอร์ตได้ง่ายๆ เช่นกัน

Margin

เงินฝากที่จำเป็นในการรักษาสถานะของบัญชี  เรียกเงินส่วนนี้ว่า มาร์จิ้น เมื่อคุณเลือกประเภทบัญชี และ เลเวอเรจ ที่เหมาะสมกับคุณได้แล้ว เมื่อคุณส่งคำสั่งซื้อ/ขายไปยังโบรกเกอร์ จะมีการกันเงินส่วนหนึ่งในพอร์ตของคุณ ไว้เป็นหลักประกัน (มาร์จิ้น) เมื่อคุณเปิดคำสั่งซื้อในคู่เงินคู่หนึ่ง จากนั้นกราฟก็เริ่มวิ่งลง ทำให้คุณขาดทุน เงินในพอร์ตก็จะลดลงเรื่อย ๆ และอาจติดลบ ที่จะทำให้บัญชีถูกปิดลง แน่นอนว่าโบรกเกอร์จะไม่ยอมขาดทุน จึงต้องทำการกันมาร์จิ้นเอาไว้นั่นเอง

Margin call และ Stop out

เมื่อมีการเปิดคำสั่งซื้อ/ขาย จะมี margin ส่วนหนึ่งจะถูกกันไว้เป็นหลักประกัน และหากเงินในบัญชีลดลงเรื่อย ๆไปจนถึงจุด ๆหนึ่ง ทางโบรกเกอร์จะส่งคำสั่งผ่านโปรแกรม MT4 เพื่อเตือนนักลงทุนเป็น margin call แสดงให้เห็นว่า เงินในบัญชีกำลังจะหมดลง และให้นักลงทุนเลือกที่จะปิดคำสั่งนั้นเสีย หรือไม่ก็ต้องเติมเงินเข้าไปในบัญชีเพิ่มขึ้นแทน และถ้านักลงทุนเลือกที่จะไม่ดำเนินการใด ๆเลย จนเงินในบัญชีลดลงถึงในระดับที่เป็นอันตราย ทางโบรกเกอร์จะทำการ stop out นั่นหมายถึง เป็นการบังคับปิดคำสั่งซื้อ/ขาย ของนักลงทุนโดยอัตโนมัติ

Tip

# margin ที่ถูกกักไว้ในบัญชีจะไม่หายไป จนกว่าคำสั่งนั้นจะโดนปิด

# การเปิดคำสั่งมากเกินไป หรือมี lot มากเกินไป ในผู้ที่มีเงินลงทุนน้อย จะทำให้เงินในพอร์ท ไม่พอสำหรับการรักษาสถานะของ มาร์จิ้นได้ การเลือกใช้ เลเวอเรจ สูง ๆจะช่วยในการกักมาร์จิ้นในแต่ละครั้งน้อยลงไป

# margin call และ stop out จะถูกกำหนดให้มีค่าไม่เท่ากัน ในแต่ละโบรกเกอร์ ให้เลือกโบรกเกอร์ให้ตรงกับนิสัย ความเสี่ยง และรูปแบบการลงทุนของคุณ

# currency contract specification นักลงทุนควรอ่าน ข้อกำหนดในสัญญาสำหรับการเทรดคู่เงินต่าง ๆ ให้ละเอียด ทำให้รู้ถึงรายละเอียดต่าง ๆ เช่น spread, digit (ซื้อ/ขาย ถึงทศนิยมที่ 4 หรือ 5) contract size ( จะช่วยบอกประเภทบัญชีที่คุณถืออยู่ จำนวนหน่วยสัญญาใน 1 lot) margin hedge ( การกำหนดการกักมาร์จิ้นที่ไม่เท่ากับมาร์จิ้นปกติ เมื่อมีการเปิดคำสั่งที่ตรงกันข้ามในคู่เงินเดิม )

Spread

คือความแตกต่างระหว่างราคาเสนอซื้อ และราคาเสนอขาย หากเห็นประกาศราคาว่า

EUR/USD 1.3250/03 นั่นหมายถึง ค่า spread เท่ากับ 3 pips ที่เกิดจากความแตกต่างของราคา 1.3250 กับ 1.3253

Bid/Ask

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเสนอราคาคู่สกุลเงินในตลาด Forex

เงินสกุลสำคัญ

ตัวย่อ ชื่อสกุลเงิน
USD US Dollar
EUR Euro
JPY Japanese Yen
GBP British Pound
CHF Swiss Franc
CAD Canadian Dollar
AUD Australian Dollar
NZD New Zealand Dollar

การเรียกชื่อคู่เงินในตลาด Forex ที่นักลงทุนมักเรียกเป็นชื่อเล่น ทั้งนี้คู่เงินนั้นจะมี USD เป็นส่วนประกอบไม่ว่าจะเป็นส่วน base currency หรือเป็น quote currency ก็ได้

คู่เงิน ชื่อเล่น
EUR/USD Euro
USD/JPY Dollar/Yen
GBP/USD Cable หรือ Sterling
USD/CAD Dollar Canada หรือ Loonie
USD/CHF Swissy
NZD/USD Kiwi
AUD/USD Aussie Dollar

คุณต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับการอ่านคู่สกุลเงินอย่างถูกต้องก่อนทำการซื้อ/ขาย จึงควรเริ่มต้นด้วยสิ่งนี้

อัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินสองสกุลจะถูกยกออกมาเป็นคู่ เช่น EUR/USD หรือ USD/JPY เหตุผลก็คือ ในการทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ นั่นหมายถึงคุณกำลังซื้อเงินสกุลหนึ่ง ไปพร้อม ๆกับการขายเงินอีกสกุลหนึ่ง หากคุณออกคำสั่งซื้อ คู่เงิน EUR/USD นั่นคือคุณกำลังซื้อเงิน EUR และกำลังขายเงิน USD และคุณจะทำกำไรได้ก็ต่อเมื่อ EUR แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับ USD

สกุลเงินแรกหน้าเครื่องหมาย / เรียกว่า เบสเคอเรนซี ( base currency ) และสกุลเงินที่อยู่หลังเครื่องหมาย / เรียกว่า เคาเตอร์เคอเรนซี ( counter currency หรือ quote currency )

ในคู่เงิน EUR/USD = 1.32100 หากคุณเปิดคำสั่งซื้อ นั่นหมายถึงคุณจะจ่ายเงินจำนวน 1.32100 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อจะได้มาซึ่ง 1 ยูโร

และหากคุณเปิดคำสั่งขาย EUR/USD ก็คือคุณจะได้รับเงิน 1.32100 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อขาย 1 ยูโรนี้ออกไป

วิธีคิดง่าย ๆ เกี่ยวกับการเทรดในตลาด ฟอเร็กซ์ ก็คือ ไม่ว่าคุณจะเปิดคำสั่ง ซื้อ หรือขายในคู่เงินสกุลใด ๆก็ตาม นั่นคือคุณกำลังซื้อ หรือขายเงินที่อยู่ข้างหน้า / ที่เป็น base currency เช่น

คู่เงิน คำสั่ง ซื้อ ขาย
EUR/USD ซื้อ EUR USD
USD/JPY ซื้อ USD JPY
NZD/USD ซื้อ NZD USD
คู่เงิน คำสั่ง ขาย ซื้อ
EUR/USD ขาย EUR USD
USD/JPY ขาย USD JPY
NZD/USD ขาย NZD USD

พื้นฐานของการซื้อ/ขาย ในตลาดฟอเร็กซ์ คือ หากคุณคาดการณ์ว่าสกุลเงินที่เป็น base currency มีแนวโน้มว่าจะแข็งค่าขึ้น ( มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ) เมื่อเทียบกับ สกุลเงินที่เป็น quote currency ให้คุณเปิดคำสั่งซื้อ และหากคุณคาดว่า base currency มีแนวโน้มว่าจะอ่อนค่าลง (มูลค่าลดลง) เมื่อเทียบกับ quote currency ให้คุณเปิดคำสั่งขาย

Bid & Ask price

จากภาพเป็นประกาศราคาคู่เงิน EUR/USD

Bid Price

คือ ราคาที่ตลาด หรือโบรกเกอร์ของคุณ จะซื้อคู่สกุลเงิน EUR/USD จากคุณ ดังนั้นราคา bid จึงเป็นราคาที่นักลงทุนสามารถจะขายสกุลเงินคู่นี้ได้ทันที

Ask Price

คือราคาที่ตลาด หรือโบรกเกอร์จะขายคู่สกุลเงิน EUR/USD หากนักลงทุนพอใจที่จะซื้อในราคานี้ ก็สามารถเปิดคำสั่งซื้อได้ทันที

Bid/Ask Spread

เป็นส่วนต่างระหว่างราคาเสนอขาย ( Ask ) กับราคาเสนอซื้อ ( Bid )

ด้านบนทั้งหมดเป็น คำศัพท์การซื้อขาย Forex พื้นฐานที่จำเป็นต้องทราบ เพื่อความเข้าใจ และใช้ในการเรียนรู้ต่อไป

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *