5 ข้อผิดพลาดอันใหญ่หลวงเมื่อคุณลงมือทาสี

ปัญหาก็คือการขาดแคลนหลักสูตรระยะสั้น ที่จะบอกถึงวิธีการทาสีชิ้นงาน ไม่ว่าจะเป็นผนังบ้าน,เฟอร์นิเจอร์, และอื่น ๆ อีกมากมาย เรามักจะพบปัญหาว่าหลังการทาสีเสร็จสิ้นลงแล้ว  ชิ้นงานจะมีพื้นผิวไม่เรียบ มีเม็ดสี หรือมีผิวขรุขระคล้ายเปลือกส้มจนต้องทำซำ้ ๆ กันหลายต่อ หลายครั้งก็ยังไม่สมารถแก้ได้ เพราะมีข้อผิดพลาดในข้้นตอนก่อน และขณะทำการทาสี  และนี่คือ 5 ข้อผิดพลาดที่สำคัญในงานสี


ขัดพื้นผิวงาน  คุณอย่าไปหลงเชื่อเชียวนะว่าไม่ต้องขัดผิวงานก่อนทำการลงสี  หรือแม้แต่ในโฆษณาของบริษัทผลิตสีที่ว่าไม่ต้องขัดผิวงานก่อน  แต่ให้ลงสีทับไปได้เลย  เพราะจริง ๆ แล้วการขัดพื้นผิวงานเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งยวด  มันเป็นการกำจัดร่องรอยเดิมไม่ว่าจะเป็นซากสีเก่า หรือสารเคลือบผิวเก่าออกไปให้หมดเสียก่อน  เพราะว่าซากเดิมมันมีอายุการไช้งาน  พอมันหมดสภาพ  หรือมีความชื้นซึมเข้าไป  มันก็จะร่อนออกมาเป็นแผ่นเล็กแผ่นน้อย  การลงสีทับลงไปเลยเท่ากับว่าไม่ได้ลงสีทับบนชิ้นงานโดยตรง  แต่กลายเป็นว่าลงสีทับซากเก่า ๆ ของสีเดิมที่นนกำลังจะร่อน  ซึ่งไม่ช้าไม่นานสีที่ลงทับใหม่ก็จะหลุดร่อนตามกันไปด้วยเช่นกัน

ทำควาสะอาดชิ้นงาน  หลังจากการขัดด้วยกระดาษทรายในขั้นตอนแรกแล้ว  พื้นผิวงานจะมีพวกขุย, ผง  ที่เกิดจากซากสีเก่าตกค้างอยู่  ดังนั้นจงทำความสะอาดชิ้นงานด้วยผ้า  อันที่จริงแล้วก็ไม่ได้เน้นว่าจะต้องเป็นผ้าอะไร  เพียงแต่ให้คุณสังเกตุดูว่าผ้าที่คุณจะใช้ทำความสะอาดชิ้นงานนั้นไม่ควรมีขุยผ้าหลุดออกมาติดที่ชิ้นงานได้ง่าย ๆ  เพราะถ้าเอาออกไม่หมดจะเห็นเป็นเส้นด้ายติดอยู่หลังคุณลงสี  และปล่อยไว้จนแห้งแล้วจะดูว่าชิ้นงานไม่ปราณีตพอ  ขอห้ามอย่างเด็ดขาดคือ อย่าใช้กระดาษชำระในการทำความสะอาดชิ้นงาน

ทารองพื้น  บนพื้นเรียบเข้าถึงได้ง่ายลูกกลิ้งโฟมขนาดเล็กจะเป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการลงสี  ในขณะที่ส่วนที่เป็นซอกมุม  หรือนุนโค้งแปรงทาสีขนาดเล็กน่าจะดีกว่า  หลังจากลงรองพื้นเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้งตามระยะเวลาที่ระบุไว้บนผลิตภัณฑ์รองพื้นนั้น ๆ  หลังจากรองพื้นแห้งแล้วให้ตรวจดูชิ้นงานอีกรอบ  ถ้าปรากฎว่าบางส่วนบนชิ้นงานมีหยดรองพื้นแห้ง ๆ ติดอยู่  หรือมีรองพื้นหนากว่าส่วนอื่น ๆ มาก  ก็ให้ขัดด้วยกระดาษทราย  หรือทำความสะอาดด้วยผ้าเสียก่อน

ทำการลงสี  ให้ใช้ลูกกลิ้งโฟมกับสีลาเท็กซ์กึ่งเงา (semi gross latex paint)  ทาลงไปบาง ๆ สัก 3 รอบ  ช่วงนี้จะใช้เวลานานหน่อย  ประมาณ 6-8 ชั่วโมง  ในขั้นตอนนี้ขอให้ทำอย่างปราณีต  และต้องใช้ความระมัดระวังอย่าให้เกิดเม็ดสี  หรือสิ่งสกปรกฝังอยู่ในเนื้อสี  แต่ถ้าพลาดและเห็นมันปรากฎอยู่  ก็ต้องขัดบริเวณนั้นด้วยกระดาษทราย  และทำความสะอาดมันด้วยผ้าผืนใหม่  ขอยำ้ว่าต้องเป็นผ้าผืนใหม่  เพราะถ้าคุณใช้ผ้าผืนเก่าที่เคยใช้ในขั้นตอนที่ ก็จะพบว่ามีเศษผง, ฝุ่น และซากสีเก่าติดอยู่  ที่จะทำให้ไปติดชิ้นงาน  โดยเฉพาะส่วนที่สียังไม่แห้งทีนี้แหละงานเข้าเลย

ปกป้องชิ้นงาน   ขั้นตอนนี้จะเป็นการลงสารเคลือบผิวพวก polyacrylic  เพื่อปกป้องพื้นผิวงานอันเป็นขั้นตอนสุดท้าย  ควรทำอย่างระมัดระวังโดยใช้ลูกกลิ้งโฟมกลิ้งไปอย่างเบามือเพื่อไล่ฟองอากาศที่อาจเกิดขึ้นระหว่างงานในช่วงนี้  เสร็จแล้วก็ปล่อยชิ้นงานทิ้งไว้สัก 3-4 วันจนแห้งสนิทแล้วจึงนำมาใช้งานได้

เพียง 5 ขั้นตอนที่ไม่ง่าย หรือยากจนเกินไป  เพิ่มความอดทนไปอีกสักนิด  เติมความละเอียดลงไปอีกสักหน่อย  คุณก็จะได้ชิ้นงานที่ปราณีต สวยงาม เลอค่า เป็นอมตะ ระดับ masterpiece สมกับเป็น professional (พอจะจบก็อวยซ้าาาาา)

 

DIT = DO IT TODAY

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *